การตกตะกอนเป็นวิธีการแยกตะกอนแขวนลอยออกจากน้ำเสีย โดยอาศัยการจมตัวลงของตะกอนแขวนลอยที่มีค่าความถ่วงจำเพาะ(Specific Gravity : S.G.)ของตะกอนสูงกว่าน้ำ ในระบบบำบัดน้ำเสียมักมีถังตกตะกอน 2 ชนิด คือ ถังตกตะกอนที่ทำหน้าที่แยกตะกอนต่างๆ ออกจากน้ำเสียก่อนที่จะไหลลงถังบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีชีวภาพ นิยมเรียกว่า ถังตกตะกอนแรก (Primary Sedimentation Tank) และ ถังตกตะกอนอีกชนิด คือ ถังตกตะกอนที่ใช้แยกตะกอนชีวภาพ หรือ ตะกอนเคมีออกจากน้ำเพื่อให้ได้น้ำใสสะอาด นิยมเรียกว่า ถังตกตะกอนที่สอง (Secondary Sedimentation Tank)
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการออกแบบเลือกใช้ถังตกตะกอน มีดังนี้
อัตราการไหลเข้าของน้ำเสีย
อุณหภูมิและความดันของบรรยากาศรอบบริเวณที่ตั้ง
ปริมาณและลักษณะของตะกอนในน้ำเสีย
ลักษณะน้ำเสีย
พื้นที่ผิวบนของถังตกตะกอน
ความลึกของถังตกตะกอน
คุณภาพน้ำที่ไหลล้นออกจากถัง
กระบวนการบำบัดน้ำเสีย
ราคาค่าก่อสร้าง
ถังตกตะกอนสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
ถังสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ถังสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ถังทรงกลม
ถังที่มีแผ่นเอียงติดตั้ง
มักจะมีพื้นลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้เครื่องกรวดตะกอนที่ก้นถังทำหน้าที่กวาดตะกอนลงมาที่หลุม หรือบางแบบวิศวกรจะออกแบบให้มีพื้นก้นถังเป็นแบบหลุมๆ ตลอดทั่วทั้งถัง ทำให้ไม่ต้องใช้เครื่องกวาดตะกอน เพราะตะกอนจะตกลงมาทุกๆ หลุมกระจ่ายไปทั่วพื้นก้นถัง ทำให้การสูบตะกอนเป็นได้ง่าย โดยทั่วไป ขนาดความยาว : ความกว้าง ประมาณ 3:1 ของถังหรือมากกว่า ขนาดความกว้าง : ความลึกของถัง ประมาณ 1 - 2.25 : 1 และความลึก ประมาณ 2.4-3 ม. และ 3-3.6 ม. สำหรับถังตกตะกอนแรก และสองตามลำดับ
มีลักษณะคล้ายกับถังกลม แต่บริเวณมุมถังเป็นข้อด้อยกว่าถังกลม เพราะตะกอนอาจไปตกอยู่ที่มุมขอบถัง แต่มีข้อดีคือ ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าถังกลม ถ้าขนาดพื้นที่เป็นข้อจำกัดในการออกแบบโดยทั่วไปถังแบบนี้จะมีขนาดความลึกเท่ากับ 3-5ม. กว้าง 3-50 ม.
เป็นถังที่นิยมใช้กันมาก เพราะจะไม่มีตะกอนตกค้างบริเวณรอบถัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 3-60ม. ความลึก 2-3 ม. และ 3-4ม. สำหรับถังตกตะกอนแรก และสอง ตามลำดับ ความลาดเอียงของพื้นก้นถังควรมีประมาณ 1:12 โดยจำเป็นต้องมีเครื่องกวาดตะกอนบริเวณพื้นก้นถัง
ถังตกตะกอนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการตกตะกอนด้วยการติดตั้งแผ่นเอียงช่วยตกตะกอน (Tube Settler) โดยจะทำมุม 60 องศากับแนวนอน เพื่อให้ตะกอนไม่ค้างอยู่ในแผ่น หลักการทำงานของแผ่นเอียงช่วยตกตะกอน ระบบจะทำการป้อนน้ำไหลขึ้นซึ่งจะมีความหนืดสูงขึ้น ส่งผลให้การไหลของน้ำภายในถังสงบกว่าถังตกตะกอนที่ไม่มีการติดตั้งแผ่นเอียงช่วยตกตะกอน และอีกข้อคือ ต้องการลดความลึกของการตกตะกอน ประหยัดค่าก่อสร้าง
โดยถังตกตะกอนเก่าทั้งแบบกลม สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือจัตุรัส สามารถติดตั้ง Tube Settler ได้โดยไม่ทำให้โครงสร้างถังเดิมเสียหาย เนื่องจาก Tube Settler มีน้ำหนักเบา สามารถเพิ่มประสิทธิภาพระบบตกตะกอนเดิมได้กว่า 20% โดยไม่ต้องเสียค่าก่อสร้างถังใหม่ ประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง
การออกแบบถังตกตะกอน วิศวกรของเราพร้อมที่จะให้คำปรึกษาฟรี เพื่อให้ท่านได้ถังตกตะกอนที่เหมาะสม ถูกหลักทางวิศวกรรม